วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

สารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ย (L-Dopa)

หมามุ่ย (Velvet Bean) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อวงศ์ FABACEAE จากรายงาน ทางการแพทย์ มีการนำหมามุ่ยมาทดลองในสัตว์พบว่าสารธรรมชาติในหมามุ่ยทำให้สมรรถภาพทางเพศ ดียิ่งขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ในสัตว์ได้เป็นสิบเท่า รวมไปถึงการยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธุ์ Œชะลออาการหลั่งเร็ว และเพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศได้
          ใน ปี 2550 ‘K.K.Shukla’ รายงานการวิจัยที่ทดลองในผู้ชายอินเดีย 75 คน โดยผู้เข้าร่วมทดลองเหล่านี้ประสบกับปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากภาวะความเครียด พบว่าหลังจากให้เม็ดหมามุ่ยทานในปริมาณ 5 กรัมต่อวันนาน 3 เดือน ระดับความเครียดลดลง และคุณภาพปริมาณของ ‘อสุจิ-น้ำเชื้อ’ เพิ่มขึ้น
           จากการวิจัยโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่าเมล็ด หมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบของการผ่านวิธีการ ‘สกัด’ มาเป็น ‘ยาเม็ด’ เพราะร่างกายไม่สามารถได้รับสารในรูปแบบของเมล็ดสดได้

        นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน Arvid Carlsson เป็นผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950 และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-Dopa สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000
            สารโดปามีนหรือโดพามีน (dopamine) เป็นสารเคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีนสร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส
           ในสมองของคนเรามีปริมาณโดปามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ยังหลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลคตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลมีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆรอบตัว
        สารโดปามีนหรือโดพามีน (dopamine) ป็น สารเคมีที่หลั่งออกมาทุกครั้งที่ได้ข้องเกี่ยวกับความรัก ระดับโดปามีนในสมองจะเพิ่มสูงขึ้นจากอาหารจำพวกโปรตีนสูง ร่างกายสร้างสารโดปามีนขึ้นมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน และสาร L-Dopa โดยร่างกายได้รับกรดอะมิโนไทโรซีนจากอาหารประเภทโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง และตื่นตัวอยู่เสมอ ถ้าหากร่างกายมีสารโดปามีนน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน  เซลล์สมองที่มีโดปามีนมักจะอยู่ที่บริเวณของสมองส่วน basal ganglia ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra
         สำหรับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะพบว่ามีการตายของเซลล์สมองที่มีโดปามีนจึง ทำให้สมองขาดสารโดปามีน โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อมและตายไปของเซลล์ สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สาร โดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
               สําหรับข้อควรระวังในการทานเมล็ดหมามุ่ย คือ ต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิด ‘สารพิษ’ บางอย่างขึ้นทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปา (L-Dopa) ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางโรคที่ไม่ควรกิน เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 - ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ
 - โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Category 5

Category 6 (Carousel)