นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน Arvid Carlsson
เป็นผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950
และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa
สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ.
2000
เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลมีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
ระดับโดปามีนในสมองสูงขึ้นจากอาหารจำพวกโปรตีนสูง
ร่างกายสร้างสารโดปามีนขึ้นมาจากกรดอะมิโนชนิดที่มีชื่อว่าไทโรซีน
โดยร่างกายได้จากอาหารประเภทโปรตีนสูง (มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ) เช่น
เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง
กระฉับกระเฉง และตื่นตัว
ผลต่อสมอง เมื่อ
โดปามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดปามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ
ในหลายเส้นทาง ได้แก่ ไนโกรสไตรตาล มีโซลิมบิค มีโซคอร์ติคอล
และทูเบอโรอินฟันดิบิวลาร์
โดปามีนจะออกฤทธิ์ผ่านตัวรับโดปามีนที่เป็นโปรตีนซึ่งอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์
ตัวรับโดปามีนทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สารเคมีของสมองที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของบุคคลที่สำคัญ 3 ตัว คือ โดปามีน นอร์อิปิเนฟริน และซีโรโทนิน
เมื่อ
โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit
หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ
แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม
สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้
ถ้าร่างกายโดปามีนน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน เซลล์สมองที่มีโดปามีนมักจะอยู่ที่บริเวณของสมองส่วน basal ganglia ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะพบว่ามีการตายของเซลล์สมองที่มีโดปามีน จึงทำให้สมองขาดสารโดปามีน
โรคพาร์กินสัน เกิด
จากการเสื่อมและตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน
จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ
สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ
แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเซลล์ทั้งหมด
สารโดปามีน
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพบว่าโดปามีนเกี่ยวข้องกับกลไกหลายอย่างในสมอง
เช่น กระตุ้นสมองรับรู้ความพึงพอใจ สารเสพติดที่กระตุ้นโดปามีน ได้แก่
โคเคน ฝิ่น เฮโรอิน รวมทั้งแอลกอฮอล์ และนิโคตินในบุหรี่ด้วย
การใช้ยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ สมองส่วนนอกที่เป็นส่วนคิด และสมองส่วนที่อยู่ชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความอยาก
สมองส่วนคิดทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญา ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ขณะที่สมองส่วนความอยาก เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ยาเสพติดจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้หลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาเป็นปริมาณมาก สารนี้ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย สมองจึงมีการปรับตัวด้วยการลดการหลั่งสารเคมีนั้นลง เมื่อหมดฤทธิ์ยาเสพติด จึงเสมือนว่าร่างกายมีอาการขาดสารโดปามีนทำให้มีอาการหงุดหงิด หรือซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยาพยายามแสวงหายามาใช้ซ้ำ
ในขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาเสพติดบ่อยๆ จะทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลาย การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะเสียไป ผู้ที่ใช้ยาเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงทำให้มีการใช้ยาเสพติดบ่อยขึ้น
ผลสุดท้ายจะเกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงในด้านต่างๆ ของชีวิต ผู้เสพไม่สามารถควบคุมตนเองได้ด้วยสติปัญญา หรือความคิด และทำให้มีอาการทางจิต และสามารถเป็นโรคจิตเต็มขั้นได้ในที่สุด
image
ยารักษาโรคจิต
การใช้ยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ สมองส่วนนอกที่เป็นส่วนคิด และสมองส่วนที่อยู่ชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความอยาก
สมองส่วนคิดทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญา ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ขณะที่สมองส่วนความอยาก เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ยาเสพติดจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้หลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาเป็นปริมาณมาก สารนี้ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย สมองจึงมีการปรับตัวด้วยการลดการหลั่งสารเคมีนั้นลง เมื่อหมดฤทธิ์ยาเสพติด จึงเสมือนว่าร่างกายมีอาการขาดสารโดปามีนทำให้มีอาการหงุดหงิด หรือซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยาพยายามแสวงหายามาใช้ซ้ำ
ในขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาเสพติดบ่อยๆ จะทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลาย การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะเสียไป ผู้ที่ใช้ยาเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงทำให้มีการใช้ยาเสพติดบ่อยขึ้น
ผลสุดท้ายจะเกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงในด้านต่างๆ ของชีวิต ผู้เสพไม่สามารถควบคุมตนเองได้ด้วยสติปัญญา หรือความคิด และทำให้มีอาการทางจิต และสามารถเป็นโรคจิตเต็มขั้นได้ในที่สุด
image
ยารักษาโรคจิต
สาเหตุการ
เกิดโรคจิต เกิดจากการมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลีบสมองส่วนฟรอนทัล
ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้
ความจำ ความฉลาด ความคิดอย่างมีเหตุผล โดปามีนเกี่ยวข้องกับสมาธิ
ความรู้สึกตื่นตัว ผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ
ส่วนอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ ถั่วเหลือง
การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 60-80 กรัม
จะช่วยให้ตื่นตัวและมีพลังมากด้วย
ยาที่ใช้รักษาโรคจิตเภทหลายชนิดออกฤทธิ์ต้านสารโดปามีน ปัจจุบันมีมากกว่า 30 ขนาน ช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้นมาก
ผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ อาการง่วงเหงาหาวนอน บางรายมีอาการมือไม้สั่น ตัวแข็งๆ คล้ายหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ช้า บางคนอาจมีอาการเกร็งที่คอ
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น แก้ไขได้ด้วยยาที่ออกฤทธิ์ต้าน โดยที่ไม่ต้องหยุดยา
อาการอื่นๆ ได้แก่ ปากคอแห้ง กินน้ำมาก กินอาหารมาก น้ำหนักเพิ่ม ท้องผูก
ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ
ยาที่ใช้รักษาโรคจิตเภทหลายชนิดออกฤทธิ์ต้านสารโดปามีน ปัจจุบันมีมากกว่า 30 ขนาน ช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้นมาก
ผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ อาการง่วงเหงาหาวนอน บางรายมีอาการมือไม้สั่น ตัวแข็งๆ คล้ายหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ช้า บางคนอาจมีอาการเกร็งที่คอ
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น แก้ไขได้ด้วยยาที่ออกฤทธิ์ต้าน โดยที่ไม่ต้องหยุดยา
อาการอื่นๆ ได้แก่ ปากคอแห้ง กินน้ำมาก กินอาหารมาก น้ำหนักเพิ่ม ท้องผูก
ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ
โดปามีน
หากย้อนเวลากลับไปในช่วงคริศต์ศักราช 1923 จะพบว่า…
โลกนี้ได้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งมีบทบาาทสำคัญในการค้นพบ
”สารโดปามีน”
สารเคมีสำคัญในร่างกายที่มีบทบาทต่อการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก !!
Arvid Carlsson เกิด
เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1923 ที่เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน
เขาเป็นผู้ผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950
และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa
สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ จากผลงานนี้เองทำให้ Arvid Carlsson
ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000
โดปามีน (dopamine) สาร
เคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน
โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส
เป็นทั้งสารสื่อประสาทที่คอยกระตุ้น โดพามีนรีเซพเตอร์ (dopamine receptor)
และเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยเมื่อโดปามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะส่งผลต่ออารมณ์ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
โด
ปามีนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ
จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ
ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ
ซึ่งในขณะที่โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า
reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำ ๆ
ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ
แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม
สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้
ด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงมีการจัด โดปามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love) ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับการเลือกหรือจับคู่
ซึ่งมีผลงานวิจัยอ้างอิงจากมหาวิทยาลัยอีโมรี
ได้ทำการทดลองโดยฉีดโดปามีนใส่หนูตัวเมียทึ่เอามาจากหนูตัวผู้ตัวหนึ่ง
ซึ่งปรากฏว่าหนูตัวเมียเลือกจับคู่กับหนูตัวผู้ที่เป็นเจ้าของโดปามีนนี้
จากกลุ่มหนูทั้งหมดที่อยู่รวมกัน
นอกจากนี้แล้วระดับโดปามีนส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโดปามีนน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งโรคทางประสาทที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอากรสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า
โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อม
และตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน
จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ
สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ
แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
และในทางกลับกัน
หากร่างกายมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนฟรอนทัล
ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้
ความจำ ก็จะทำให้เกิดอาการป่วยทางจิต
ซึ่งผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ
ดังนั้นเมื่อโดปามีน ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของเราเช่นนี้
เราจึงควรรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เนื่องจากโดปามีน
ผลิตได้จากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน เช่น รับประทานพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่
ถั่วเหลือง เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารโดปามีนอย่างเหมาะสม ไม่มาก
หรือน้อยจนเกินไปค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
-ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (http://www.vachiraphuket.go.th)
- สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลโย (สสวท.) (http://www.ipst.ac.th)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น