วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิจัยพบ เมล็ดหมามุ่ย ช่วยให้ชีวิตคู่กระชุ่มกระชวยจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยของข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวนกว่า 800 ผลงาน โดยนางชนัดดา บัลลังค์ นักวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “หมามุ่ย : สมุนไพรต่อความมั่นคงของชีวิตสมรส”
จากการศึกษาผลของสมุนไพรหมามุ่ยต่อความสุขของชีวิตสมรส เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้สมุนไพรหมามุ่ยต่อชีวิตสมรส กับชาวบ้านใน ต.โพธิ์ อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 6,217 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสมัครใจจำนวน 40 คน เป็นชาย 20 คน และหญิง 20 คน
“กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลก่อนการวิจัยว่า มีความรู้สึกถึงความมั่นคงต่อชีวิตสมรสในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ และระหว่างการวิจัยด้วยการใช้เมล็ดหมามุ่ยคั่วสุกบดละเอียดให้ชงรับประทาน และสอบถามความรู้สึกหลังการวิจัยพบว่า ระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่อชีวิตสมรสก่อนการใช้หมามุ่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง แต่เมื่อได้ดื่มน้ำเมล็ดหมามุ่ยคั่วบดละเอียดแล้ว ความรู้สึกต่อชีวิตสมรสเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก” นางชนัดดาระบุ
นักวิชาการผู้นี้ยังได้อธิบายถึงผลงานวิจัยด้วยว่า ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มน้ำสมุนไพรหมามุ่ย พบว่ามีความพอใจคู่สมรสและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น โดยในผู้หญิงมีความรู้สึกว่าหน้าอกมีความเต่งตึง และอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรับสัมผัสทางเพศมีความกระชับมากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ดี ไม่เหนื่อยง่าย
“ขณะที่พศชายมีความรู้สึก ว่าการระหว่างปฏิบัติการไม่เหนื่อยง่าย แถมยังกระฉับกระเฉง จำนวนครั้งที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” นางชนัดดา ยืนยันและว่า  ได้เสนอแนะการใช้หมามุ่ยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และผู้ใช้ต้องมีความรู้ทางด้านสมุนไพรเพื่อความปลอดภัย
นางชนัดดา ระบุอีกว่า สมมุติฐานการวิจัยครั้งนี้มาจากฐานข้อมูลของกรมการปกครองที่พบว่า สถิติการหย่าร้างของคนไทยตั้งแต่ปี 2550-2552 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 100,420 คนในปี 2550 เพิ่มเป็น 109,277 คนในปี 2552 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดว่าน่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ชีวิต คู่ ชีวิตสมรสให้มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเพศสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคู่ของมนุษย์มาโดย ตลอด
“เรื่องเพศสัมพันธ์ถือเป็นความต้องการพื้นฐานในความสุขทางเพศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เหมาะสมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น การปลุกเร้าทางเพศต้องใช้เวลานานขึ้น และการแข็งตัวของอวัยวะเพศก็อาจแข็งตัวช้า” นักวิจัยผู้นี้กล่าวทิ้งท้าย

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

สรรพคุณของหมามุ่ย


1.หมามุ่ยประโยชน์ของหมามุ่ย ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ไม่เหนื่อยง่าย
2.ช่วยทำร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง
3.ช่วยทำให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส
4.สรรพคุณของหมามุ่ย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
5.ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ และช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
6.ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (เพิ่มโอกาสการมีลูกได้มากขึ้น)
7.ช่วยทำให้คู่รักมีความสุขและช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดีมากยิ่งขึ้น
8.สรรพคุณหมามุ่ย ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ เพิ่มความถี่ของการผสมพันธุ์ให้มากยิ่งขึ้นเป็น 10 เท่า (มีการทดลองในสัตว์)
9.หมามุ่ย สรรพคุณช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
10.ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
11.ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ
12.ประโยชน์หมามุ่ย ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น
13.ประโยชน์ของหมามุ่ยช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น
มีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น
14.สรรพคุณเมล็ดหมามุ่ย ช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
15.หมามุ่ยสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน
16.ช่วยผ่อนคลายความเครียด
17.ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
18.ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช้ำใน ด้วยการใช้รากหมามุ่ย 1 กิโลกรัม เมล็ดผักกาด 5 ขีด และเมล็ดผักชี 3 ขีด นำมาตำรวมกันจนเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้งป่าหมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วนำมาใช้กินก่อนนอน (ขนาดเท่าผลมะพวง)
19.ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการใช้รากหมามุ่ยนำมาต้มกินแก้อาการ (ราก)
20.หมามุ้ยใช้แก้อาการคัน (ราก)
21.เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด)
22.ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ (ราก)
23.ช่วยแก้พิษแมงป่องกันได้ ด้วยการใช้เมล็ดตำเป็นผงแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนต่อย (เมล็ด)
24.หมามุ่ยประโยชน์ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารในรูปของแคปซูล หมามุ่ยสกัด กาแฟหมามุ่ย เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์หมามุ่ย ผลงานวิจัยม.เกษตร





ผลิตภัณฑ์หมามุ่ย ผลงานวิจัยม.เกษตร

    ในปีพ.ศ.2555 นายธนโชติ ธรรมชาติ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และ ผลิตภัณฑ์สัตว์ (ปัจจุบันคือสำนักงานวิจัยวิทยาเขตกำแพงแสน) มหาวิทยาบัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้นำเมล็ดหมามุ่ยจากอินเดียเข้ามาทำการเพาะปลูกและวิจัยเชิงพาณิชย์ที่ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ และทำการวิจัยที่สถานที่ผลิตยาสมุนไพร สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ หมามุ่ยดังกล่าวมีชื่อว่า Mucuna pruriens (L)DC. Var Utilis หรือถั่วเวลเวท (Velvet bean) ซึ่งลักษณะลำต้นจะมีความคล้ายกับหมามุ่ยสายพันธุ์ไทยแต่แตกต่างที่ลักษณะของ เมล็ดมีขนาดใหญ่ ขนสั้น และไม่คันเวลาสัมผัสมีเมล็ดสี 2 ลักษณะ คือ สีขาวและสีดำ แต่หมามุ่ยสายพันธุ์ไทยจะมีฝักขนาดเล็กและขนฝักมีขนาดยาวและจะมีความคัน เมื่อสัมผัสถูกขนฝัก มีทั้งเมล็ดที่มีขนาดเล็กและใหญ่ แต่ตะมีสีดำแค่เพียงสีเดียวหมามุ่ยที่ถูกนำมาปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางภาคตะวันออกของอินเดีย คนแถบบริเวณพื้นที่สูงของประเทศอินเดียรับประทานถั่วชนิดนี้มานานแล้ว โดยนำเมล็ดที่แก่มาต้มให้สุก หากกินเป็นเมล็ดดิบจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากขึ้น ผิวหนังอักเสบ อาเจียน และท้องเสียได้
    การใช้ประโยชน์เมล็ดหมามุ่ยเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์จึงต้ระวังเรื่องความ เป็นพิษ โดยต้องเตรียมทำการต้มหรือคั่วให้สุก แช่น้ำแบบถ่าบน้ำหลายๆครั้ง
    ในเมล็ดหมามุ่ยประกอบไปด้วยสารสำคัญคือ สาร L-Dopa, Levodopa ซึ่งเป็น aromatic non – protein amino acid และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท Dopamine ที่มีอิทธิพลต่อระบบการสืบพันธุ์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มมากขึ้น ชักนำให้เกิดความถี่ในการผสมพันธุ์ได้ดี รวมทั้งยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศได้ และยังได้ถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย

    โรคพาร์กินสันกับสารสกัดจากหมามุ่ย

    โรค พาร์กินสัน กับสารสกัดจาก หมามุ่ย (L-Dopa)


    “โรคพาร์กินสัน” (Parkinson Disease) คือ อาการผิดปกติที่ระงับการเติบโตของระบบประสาทส่วนกลาง โดยโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาท ที่เรียกกันว่า นิวรอน ซึ่งอยู่ในพื้นที่หนึ่งของสมองที่ชื่อว่า substantia nigra ได้ตายลงหรือทำงานได้แย่ลง โดยปกติแล้ว นิวรอนเหล่านี้จะผลิตสารเคมีในสมองที่เรียกว่า โดปามีน ในขณะนี้มีผู้คนอย่างน้อย 500,000 คนในสหรัฐอเมริกาที่เป็นโรคนี้ โรคพาร์กินสันนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการ เคลื่อนที่ โรคนี้จะมีการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ กล่าวคือ อาการของมันจะแย่ลงเรื่อยๆไปทุกวัน ถึงแม้ว่าเราจะสามารถลดความรุนแรงของอาการโรคได้ แต่มันก็จะมีการพัฒนาไปทีละนิด โรคพาร์กินสันนี้จะมีผลต่อการเคลื่อนไหว (อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว) และผลอื่นๆเช่น ความผิดปกติของอารมณ์ พฤติกรรม การคิด และความรู้สึก (อาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว) โดยอาการของคนไข้แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปรวมไปถึงการพัฒนาของโรคในแต่ละคน ก็จะแตกต่างกันไปด้วย โรคพาร์กินสันนั้นมักจะเริ่มปรากฏอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปี โดยมันจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอาการของโรคนี้มักจะเริ่มที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายก่อนและจึงส่งผล กระทบต่ออีกข้างหนึ่ง
    มันมีอาการหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรค พาร์กินสัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน (อาการสันนิบาต) อาจจะสังเกตว่าตนอ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย มีอาการเช่น ความผิดปกติของอารมณ์ พฤติกรรม การคิดและความรู้สึก การขาดความสมดุลเช่นนี้เกิดจากการเสียหายของระบบรีเฟลกซ์ที่ทำหน้าที่ปรับ ท่าทางให้เกิดความสมดุล การล้มถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน อาการสั่นของกล้ามเนื้อก็ถือเป็นหนึ่งในอาการแรกๆของ 3 ใน 4 ของผู้ทีเป็นโรคพาร์กินสันและกระทบต่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสันแทบทุกคน . อาการ Bradykinesia ถือเป็นอาการหนึ่งที่จะมีการเคลื่อนไหวช้า นอกจากการเคลื่อนไหวที่ช้าแล้ว ผู้ที่มีอาการนี้อาจจะมีอาการการเคลื่อนไหวที่ไม่สมบูรณ์ ความยากที่จะเริ่มเคลื่อนไหวและมีการหยุดเคลื่อนไหวกะทันหันในบางครั้ง การสูญเสียการควบคุมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจและไม่ได้อยู่ใต้ อำนาจจิตใจทีละนิดละน้อยจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ตามมา เช่น อาการ Postural Instability หรือการสูญเสียสมดุลและการประสานการทำให้คนไข้เกิดอาการตัวเอนไปข้างหน้า หรือด้านหลังทำให้ล้มลงได้ง่าย
    โรคพาร์กินสันนั้นจะต้องมีวิธีการจัดการที่หลากหลายรวมไปถึงการให้ความรู้ แก่คนไข้และครอบครัว สนับสนุนบริการกลุ่ม การดูแลความเป็นอยู่โดยทั่วไป การออกกำลังกายและเรื่องของอาหารการกิน วิธีทางการแพทย์อาจแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเดิน เคลื่อนไหวและอาการสั่นได้โดยให้สาร dopamine แก่สมอง . สาร Amantadine อาจจะถูกเพิ่มไปในการบำบัดที่เรียกว่า carbidopa-levodopa สำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันในระยะหลังๆ . ยายับยั้ง Catechol-O-methyltransferase จะช่วยยืดผลของวิธีบำบัดแบบ carbidopa-levodopa ด้วยการไปดักจับเอนไซม์ที่จะทำลาย dopamine. Tocapone(Tasmar) เป็นตัวยับยั้ง COMT ที่มีประสิทธิภาพซึ่งเข้าไปเข้าผสมกับ blood-brain barrier ในระบบสมองส่วนกลาง. ยาชื่อว่า levodopa จะถูกจ่ายให้กับคนไข้ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันมีชื่อว่า L-dopa ยานี้จะช่วยเพิ่มปริมาณของ dopamine ในร่างกายและได้แสดงถึงความสามารถในการปรับปรุงศักยภาพในการเดินและเคลื่อน ที่ไปในที่ต่างๆของคนไข้. Thalamotomy เกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อปริมาณน้อยๆในธาลามัส (เป็นศูนย์กลางของสมองในการส่งต่อคำพูดและสื่อความรู้สึก)
    รักษาโรคพาร์กินสัน
    คำแนะนำในการรักษาสำหรับผู้เป็นโรคพาร์กินสัน
    1. Carbidopa และ bensarazide เป็นตัวยับยั้ง dopa decarboxylase
    2. Tolcapone จะยับยั้งเอนไซม์ COMT ดังนั้นมันจะช่วยยืดผลรักษาของ L-dopa และยังถูกใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพแก่ L-dopa
    3. Selegiline และ rasagiline จะลดอาการโดยการยับยั้ง monoamine oxidase-B (MAO-B).
    4. ยาต้านไวรัสชื่อ amantadine จะช่วยลดอาการของพาร์กินสันและ levodopa-induced dyskinesia.
    5. ตัวยับยั้งเอนไซม์ COMT (catechol O-methyl transferase) คือระดับใหม่ของยารักษาที่หยุดการทำลายของ dopamine
    6. วิธีการรักษาอื่นๆมีความสำคัญในการจัดการและดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันซึ่งรวมไป ถึงกายภาพบำบัด การบำบัดโดยการพูดและการบำบัดโดยให้ทำกิจกรรมเบาๆ7. Amantadine ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตัวแทนของ dopamine แต่ทำงานในคนละส่วนของสมอง

    วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

    โดปามีน (dopamine)

    โดปามีน (dopamine) เป็น สารเคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส ในสมองมีปริมาณโดปามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ยังหลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลคตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี
             นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน Arvid Carlsson เป็นผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950 และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ ทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000
    levodopa
                เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลมีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว ระดับโดปามีนในสมองสูงขึ้นจากอาหารจำพวกโปรตีนสูง ร่างกายสร้างสารโดปามีนขึ้นมาจากกรดอะมิโนชนิดที่มีชื่อว่าไทโรซีน โดยร่างกายได้จากอาหารประเภทโปรตีนสูง (มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ) เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง และตื่นตัว
    ผลต่อสมอง เมื่อ โดปามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดปามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายเส้นทาง ได้แก่ ไนโกรสไตรตาล มีโซลิมบิค มีโซคอร์ติคอล และทูเบอโรอินฟันดิบิวลาร์
              โดปามีนจะออกฤทธิ์ผ่านตัวรับโดปามีนที่เป็นโปรตีนซึ่งอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ ตัวรับโดปามีนทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สารเคมีของสมองที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของบุคคลที่สำคัญ 3 ตัว คือ โดปามีน นอร์อิปิเนฟริน และซีโรโทนิน
              เมื่อ โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้
            ถ้าร่างกายโดปามีนน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน เซลล์สมองที่มีโดปามีนมักจะอยู่ที่บริเวณของสมองส่วน basal ganglia ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะพบว่ามีการตายของเซลล์สมองที่มีโดปามีน จึงทำให้สมองขาดสารโดปามีน
              โรคพาร์กินสัน เกิด จากการเสื่อมและตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเซลล์ทั้งหมด

    สารโดปามีน เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพบว่าโดปามีนเกี่ยวข้องกับกลไกหลายอย่างในสมอง เช่น กระตุ้นสมองรับรู้ความพึงพอใจ สารเสพติดที่กระตุ้นโดปามีน ได้แก่ โคเคน ฝิ่น เฮโรอิน รวมทั้งแอลกอฮอล์ และนิโคตินในบุหรี่ด้วย
    การใช้ยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ สมองส่วนนอกที่เป็นส่วนคิด และสมองส่วนที่อยู่ชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความอยาก
    สมองส่วนคิดทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญา ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ขณะที่สมองส่วนความอยาก เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ยาเสพติดจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้หลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาเป็นปริมาณมาก สารนี้ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย สมองจึงมีการปรับตัวด้วยการลดการหลั่งสารเคมีนั้นลง เมื่อหมดฤทธิ์ยาเสพติด จึงเสมือนว่าร่างกายมีอาการขาดสารโดปามีนทำให้มีอาการหงุดหงิด หรือซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยาพยายามแสวงหายามาใช้ซ้ำ
    ในขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาเสพติดบ่อยๆ จะทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลาย การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะเสียไป ผู้ที่ใช้ยาเสพติดจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงทำให้มีการใช้ยาเสพติดบ่อยขึ้น
    ผลสุดท้ายจะเกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงในด้านต่างๆ ของชีวิต ผู้เสพไม่สามารถควบคุมตนเองได้ด้วยสติปัญญา หรือความคิด และทำให้มีอาการทางจิต และสามารถเป็นโรคจิตเต็มขั้นได้ในที่สุด
    image
    ยารักษาโรคจิต
    สาเหตุการ เกิดโรคจิต เกิดจากการมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลีบสมองส่วนฟรอนทัล ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ความฉลาด ความคิดอย่างมีเหตุผล โดปามีนเกี่ยวข้องกับสมาธิ ความรู้สึกตื่นตัว ผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ ส่วนอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ ถั่วเหลือง การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 60-80 กรัม จะช่วยให้ตื่นตัวและมีพลังมากด้วย
    ยาที่ใช้รักษาโรคจิตเภทหลายชนิดออกฤทธิ์ต้านสารโดปามีน ปัจจุบันมีมากกว่า 30 ขนาน ช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้นมาก
    ผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ อาการง่วงเหงาหาวนอน บางรายมีอาการมือไม้สั่น ตัวแข็งๆ คล้ายหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ช้า บางคนอาจมีอาการเกร็งที่คอ
    อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น แก้ไขได้ด้วยยาที่ออกฤทธิ์ต้าน โดยที่ไม่ต้องหยุดยา
    อาการอื่นๆ ได้แก่ ปากคอแห้ง กินน้ำมาก กินอาหารมาก น้ำหนักเพิ่ม ท้องผูก
    ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ

    โดปามีน

            หากย้อนเวลากลับไปในช่วงคริศต์ศักราช 1923 จะพบว่า… โลกนี้ได้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง  ผู้ซึ่งมีบทบาาทสำคัญในการค้นพบ  ”สารโดปามีน”  สารเคมีสำคัญในร่างกายที่มีบทบาทต่อการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก !!
       Arvid Carlsson
            Arvid Carlsson  เกิด เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1923  ที่เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน เขาเป็นผู้ผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950  และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้  จากผลงานนี้เองทำให้  Arvid Carlsson ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000

    โครงสร้างของโดพามีน

           โดปามีน (dopamine) สาร เคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส   เป็นทั้งสารสื่อประสาทที่คอยกระตุ้น โดพามีนรีเซพเตอร์ (dopamine receptor) และเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยเมื่อโดปามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะส่งผลต่ออารมณ์ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น  และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว 


            โด ปามีนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งในขณะที่โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำ ๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ  แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้

             ด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงมีการจัด โดปามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love)  ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการเลือกหรือจับคู่ ซึ่งมีผลงานวิจัยอ้างอิงจากมหาวิทยาลัยอีโมรี ได้ทำการทดลองโดยฉีดโดปามีนใส่หนูตัวเมียทึ่เอามาจากหนูตัวผู้ตัวหนึ่ง  ซึ่งปรากฏว่าหนูตัวเมียเลือกจับคู่กับหนูตัวผู้ที่เป็นเจ้าของโดปามีนนี้ จากกลุ่มหนูทั้งหมดที่อยู่รวมกัน

            นอกจากนี้แล้วระดับโดปามีนส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย  หากร่างกายมีปริมาณโดปามีนน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน  ซึ่งโรคทางประสาทที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ  โดยจะมีอากรสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า
      

           โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด


           และในทางกลับกัน หากร่างกายมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนฟรอนทัล ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ  ก็จะทำให้เกิดอาการป่วยทางจิต  ซึ่งผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ

     
              ดังนั้นเมื่อโดปามีน  ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของเราเช่นนี้  เราจึงควรรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เนื่องจากโดปามีน ผลิตได้จากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน เช่น รับประทานพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ถั่วเหลือง  เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารโดปามีนอย่างเหมาะสม  ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไปค่ะ
             



    ขอบคุณข้อมูลจาก  
    -ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (http://www.vachiraphuket.go.th)
    -  สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลโย (สสวท.)  (http://www.ipst.ac.th)

    วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

    ระวัง!!! กินหมามุ่ย(สายพันธุ์ไทย)เสริมพลังเพศ

    อาจารย์เภสัชมหิดลเตือนอย่ากินเมล็ด หมามุ่ยสุ่มสี่สุ่มห้าหลังมีข่าวเพิ่มพลังเพศชาย โดยระบุว่าหมามุ่ยไทยเป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยในจีนและอินเดียที่มีผลวิจัย รับรอง
    รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร กล่าวเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ถึงกรณีมีข่าวการนำเมล็ดหมามุ่ยมาคั่วรับประทานจะออกฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทาง เพศแก่ผู้ชายว่า

    “มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากฝั่ง ประเทศจีนและอินเดีย เมล็ดหมามุ่ยมีสารที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมามุ่ยในจีนและอินเดียเป็นหมามุ่ยคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยที่ขึ้นอยู่ใน ประเทศไทย ดังนั้นจึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่กำลังสนใจและต้องการจะกินเมล็ดหมามุ่ยว่า อย่ากินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่นำมากินนั้นเป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือไม่”

    ผลิตภัณฑ์หมามุ่ย ในการเสริมสมรรถภาพทางเพศ

    ระหว่าง “ไวอากร้า” กับ “หมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย” เลือกทานอะไรดี?
    “Viagra”(ไว อากร้า) จริงๆแล้วเป็นชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศของคุณผู้ชายยี่ห้อ หนึ่ง ซึ่งไวอากร้านั้นมีชื่อสามัญทางยาว่า Sildenafil (ซิลเดนาฟิล) ตัวยาไวอากร้านี้จะไปออกฤทธิ์กักเลือดที่ไหลไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศชายให้ อยู่ที่บริเวณปลายอวัยวะเพศ เพื่อช่วยคงสภาพการขยายตัวของหลอดเลือดในอวัยวะเพศชายให้ขยายตัวอยู่ได้เป็น ระยะเวลานานเพียงพอสำหรับการร่วมเพศ และจะทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวนานขึ้น
    การขยายตัวของหลอดเลือดในอวัยวะเพศชาย เป็นผลมาจากการกระตุ้นที่ผนังหลอดเลือดด้วยสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้าง ขึ้นชื่อ ไซคลิก-จีเอ็มพี (C-GMP) โดยสารนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ โดยจะออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง แล้วจะถูกทำลายลงเมื่อเสร็จกิจกรรมร่วมเพศ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการแข็ง ตัวของอวัยวะเพศที่ไม่ยอมคลายตัว ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณเป็นอย่างมาก

    ตัวสารที่ทำหน้าที่ทำลาย สารไซคลิก-จีเอ็มพี มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์ ที่มีชื่อว่า ฟอสโฟ ไดเอสเตอเรส-5 ซึ่งยาไวอากร้า จะออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการทำงานของเอนไซม์นี้ ดังนั้น สารไซคลิก-จีเอ็มพี จะถูกทำลายน้อยลง ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวอยู่ได้ต่อไป สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาดังกล่าว สารทั้งสองจะทำงานเป็นไปไวอากร้า เข้ามามีบทบาทในแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งยาไวอากร้านี้จะออกฤทธิ์ก็ต่อเมื่อมีการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเกิดขึ้น ก่อน และต้องมีความต้องการทางเพศเกิดขึ้นด้วย
    หน้าที่ของยาไวอากร้านี้จะเข้ามาช่วยคงสภาพให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศยาว นานเพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ดังนั้นยานี้จะไม่ได้ช่วยในการปลุกอารมณ์ความต้องการทางเพศ ไม่ช่วยทำให้พลังทางเพศเพิ่มสูงขึ้น และไม่ช่วยให้ทำกิจกรรมร่วมเพศได้นานยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การใช้ยาไวอากร้าเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพนี้ ควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์
    สำหรับขนาดยาของไวอากร้าที่ใช้ในการรักษาปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือ 25-100 มิลลิกรัม รับประทาน 1 ชั่วโมงก่อนการมีเพศสัมพันธ์ และหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยอาการข้างเคียงที่อาจพบได้จากการทานยาไวอากร้าคือ ปวดศีรษะ หน้าแดง ร้อนวูบวาบ คลื่นไส้ ตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงสีฟ้าสีเขียว หรือ ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวนานเกินไป

    สำหรับสมุนไพรหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย (หมามุ่ยที่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถช่วยเรื่องปัญหาของสมรรถภาพทางเพศได้ มีเฉพาะหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียและหมามุ่ยสายพันธุ์จีนเท่านั้น ส่วนหมามุ่ยสายพันธุ์ไทย ยังไม่มีงานวิจัยใดๆออกมารองรับ)นั้น เป็นพืชสมุนไพรที่มีงานวิจัยจากต่างประเทศรับรองได้ว่าช่วย “รักษา” ปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในคุณผู้ชายได้ (เมื่อรับประทานหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 3 เดือน วันละ 5 กรัม) เพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศชาย แก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศพันธ์ให้นานยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยการรับประทานหมามุ่ยซึ่งจัดว่าเป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่งนั้นจะต้องใช้ระยะ เวลาในการรักษาปัญหาสุขภาพทางเพศให้กลับมาเป็นปกติแบบถาวร ซึ่งมีความแตกต่างกับยาไวอาการ้าตรงที่จัดว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราว เท่านั้น(ซึ่งจะทำให้อวัยะเพศแข็งตัวชั่วคราว และจะต้องเกิดอารมณ์ทางเพศก่อนเท่านั้น) ไม่ได้เป็นไปเพื่อการรักษาให้ผู้ที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศกลับมาใช้ ชีวิตปกติในระยะยาวแต่อย่างใด และผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่าผลิตภัณฑ์หมามุ่ยสายพันธุ์ อินเดีย VBean ไม่มีผลค้างเคียงกับร่างกายแต่อย่างใด
    สรุปง่ายๆว่า ทั้งไวอากร้าและหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียนั้น มีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศให้กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพทั้งหลาย แต่หลักการทำงานของตัวยาจะแตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ผู้บริโภคว่าต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือต้องการแก้ปัญหาให้ ตรงจุดนะครับ

    ลัษณะทั่วไปของ “หมามุ่ย”

    มาทำความรู้จักกับลัษณะทั่วไปของ หมามุ่ย กันเถอะ
    หมามุ้ย หรือ หมามุ่ย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC.) เป็น พืชเถาซึ่งมีขนคันจากฝัก เมื่อฝักของหมามุ่ยสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน เนื่องจากขนของ หมามุ่ยมี mucunain enzyme ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ และหมามุ่ยยังมีสารคล้ายกับ histamine ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้นเมื่อขนของหมามุ่ยสัมผัสถูกผิวหนังก็จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อน และบวมแดง

    ลักษณะใบของหมามุ่ย 
    ใบของหมามุ่ยมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน โคนใบอาจมีทั้งลักษณะ มน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน
    ลักษณะดอกของหมามุ่ย
    ดอกของหมามุ่ยมีสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ตัวของฝักหมามุ่ยจะมีขนอ่อนคลุม
    ลักษณะของฝักหมามุ่ย ตัวฝักแก่ของหมามุ่ยนี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษของหมามุ่ย ปลายยอดของขนจะแตกออกและฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน

    การรักษาพิษของหมามุ่ย
    รีบกำจัดขนพิษของหมามุ่ยออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือข้าวเหนียวคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนของหมามุ่ยหลายๆ ครั้งจนหมด หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์ พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ดทุก 6 ชม. จนหายเป็นปกติ

    สารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ย (L-Dopa)

    หมามุ่ย (Velvet Bean) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อวงศ์ FABACEAE จากรายงาน ทางการแพทย์ มีการนำหมามุ่ยมาทดลองในสัตว์พบว่าสารธรรมชาติในหมามุ่ยทำให้สมรรถภาพทางเพศ ดียิ่งขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ในสัตว์ได้เป็นสิบเท่า รวมไปถึงการยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธุ์ Œชะลออาการหลั่งเร็ว และเพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศได้
              ใน ปี 2550 ‘K.K.Shukla’ รายงานการวิจัยที่ทดลองในผู้ชายอินเดีย 75 คน โดยผู้เข้าร่วมทดลองเหล่านี้ประสบกับปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากภาวะความเครียด พบว่าหลังจากให้เม็ดหมามุ่ยทานในปริมาณ 5 กรัมต่อวันนาน 3 เดือน ระดับความเครียดลดลง และคุณภาพปริมาณของ ‘อสุจิ-น้ำเชื้อ’ เพิ่มขึ้น
               จากการวิจัยโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่าเมล็ด หมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบของการผ่านวิธีการ ‘สกัด’ มาเป็น ‘ยาเม็ด’ เพราะร่างกายไม่สามารถได้รับสารในรูปแบบของเมล็ดสดได้

            นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน Arvid Carlsson เป็นผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950 และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-Dopa สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000
                สารโดปามีนหรือโดพามีน (dopamine) เป็นสารเคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีนสร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส
               ในสมองของคนเรามีปริมาณโดปามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ยังหลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลคตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลมีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆรอบตัว
            สารโดปามีนหรือโดพามีน (dopamine) ป็น สารเคมีที่หลั่งออกมาทุกครั้งที่ได้ข้องเกี่ยวกับความรัก ระดับโดปามีนในสมองจะเพิ่มสูงขึ้นจากอาหารจำพวกโปรตีนสูง ร่างกายสร้างสารโดปามีนขึ้นมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน และสาร L-Dopa โดยร่างกายได้รับกรดอะมิโนไทโรซีนจากอาหารประเภทโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง และตื่นตัวอยู่เสมอ ถ้าหากร่างกายมีสารโดปามีนน้อยเกินไปจะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน  เซลล์สมองที่มีโดปามีนมักจะอยู่ที่บริเวณของสมองส่วน basal ganglia ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra
             สำหรับในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะพบว่ามีการตายของเซลล์สมองที่มีโดปามีนจึง ทำให้สมองขาดสารโดปามีน โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อมและตายไปของเซลล์ สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สาร โดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
                   สําหรับข้อควรระวังในการทานเมล็ดหมามุ่ย คือ ต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิด ‘สารพิษ’ บางอย่างขึ้นทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปา (L-Dopa) ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางโรคที่ไม่ควรกิน เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
     - ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ
     - โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    

    ประโยชน์ของหมามุ่ยต่อสมอง

    ประโยชน์ของหมามุ่ยต่อสมอง

    “หมามุ่ย” เป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อน ถูกจัดให้เป็นถั่วชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้ในการรักษาโดยแพทย์พื้นบ้าน ในตำราแพทย์อารุยเวทได้ใช้หมามุ่ยในการรักษาโรค เช่น แผลที่เ้กิดจากการถูกงูกัด โรคเกี่ยวกับลำไส้ การตอบทางเพศ และโรคซึมเศร้า

    ในหมามุ่ยมีสารสำคัญอะไรบ้าง?

    The magic of every therapeutic plant resides in its beneficial, active compounds. The interaction between these compounds is typically responsible for the plant’s favorable effects. In Mucuna pruriens, levodopa, or L-dopa, is one of these compounds . This bioactive chemical is a precursor to several neurotransmitters, including adrenaline, noradrenaline, and dopamine. ในเมล็หมามุ่ยมีสารสำคัญอยู่ตัวหนึ่ง ชื่อว่า Levodopa หรือ L-Dopa
    Mucuna pruriens has significant antioxidant action that works in tandem with L-dopa to promote brain health. When L-dopa crosses the blood-brain barrier, it helps to increase brain levels of dopamine, an essential neurotransmitter associated with regulating mood and cognition. Research also suggests that antioxidants are helpful for defending against oxidative damage by free radicals.

    How Does Mucuna pruriens Influence Brain Health?

    Research suggests Mucuna pruriens protects the brain by keeping cognitive and neural functions in check, even encouraging neural activity. [6]Studies on animals have echoed this, placing the focus on its antioxidant action. The mechanism behind this is simple — all free radicals have an unpaired electron that makes them unstable in the body. Antioxidants donate an electron to the free radical to neutralize its effects, particularly on the brain. Mucuna has an added benefit in that it fights systemic redness in the brain, which is often a factor in brain degradation. [7]

    Does Mucuna pruriens Affect the Effects of Stress?

    Ayurvedic tradition uses Mucuna pruriens to positively promote mental health and stress response. A study involving 120 men who suffered from psychological stress reported that supplementation with Mucuna significantly eased stress. [8] Oddly enough, the men also had fertility issues and supplementation appeared to promote sperm quality and count. Researchers also concluded that Mucuna pruriens reactivates the antioxidant defense system, an essential biological mechanism necessary for maintaining homeostasis within the body.

    Is a Therapy for Parkinson’s Disease on the Horizon?

    Parkinson’s disease is partially characterized by decreased brain production of dopamine, an important neurotransmitter. Because Mucuna pruriens positively influences dopamine levels, it’s been an Ayurvedic therapy for centuries. Preliminary research indicates that the natural form of L-dopa in Mucuna pruriens provides equivalent (or better) results compared to synthetic levodopa; and without the common side effects of nausea, vomiting, and involuntary muscle movement. [9] [10] Now, should it be inferred that Mucuna pruriens is a cure or treatment for Parkinson’s? Not in the least. Is this study interesting in a hopeful sense though? Absolutely.

    Supplementing with Mucuna pruriens

    Mucuna pruriens has a rich history of use for promoting mental health. Current research supports its traditional application and hopefully additional research will gain insight into future uses. If you are considering supplementing with Mucuna pruriens, like any supplement, it’s a good idea to find an organic or wild crafted source. If you have supplemented with Mucuna pruriens, please leave a comment below and share your experience with us!
    -Dr. Edward F. Group III, DC, ND, DACBN, DCBCN, DABFM

    References:

    1. Uma S, Gurumoorthi P. Dietary antioxidant activities in different germplasms of Mucuna. J Med Food. 2013 Jul;16(7):618-24. doi: 10.1089/jmf.2012.2697.
    2. Prakash D, Niranjan A, Tewari SK. Some nutritional properties of the seeds of three Mucuna species. Int J Food Sci Nutr. 2001 Jan;52(1):79-82.
    3. R. Katzenschlager, A. Evans, A. Manson, P. Patsalos, N. Ratnaraj, H. Watt, L. Timmermann, R. Van der Giessen, and A. Lees. Mucuna pruriens in Parkinson’s disease: a double-blind clinical and pharmaceutical study. Journal of Neurology, Neurosurgery and Psychiatry. December 2004; 75(12): 1672-1677. dpi: 10.1136/jnnp.2003.028761.
    4. Amy F.T. Arnsten, Min J. Wang, Constantinos D. Paspalas. Neuromodulation of Thought: Flexibilities and Vulnerabilities in Prefrontal Cortical Network Synapses.Neuron, Volume 76, Issue 1, 223-239, 4 October 2012. 10.1016/j.neuron.2012.08.038.
    5. Yadav SK, Prakash J, Chouhan S, Singh SP. Mucuna pruriens seed extract reduces oxidative stress in nigrostriatal tissue and improves neurobehavioral activity in paraquat-induced Parkinsonian mouse model. Neurochem Int. 2013 Jun;62(8):1039-47. doi: 10.1016/j.neuint.2013.03.015. Epub 2013 Apr 3.
    6. V. Bala, A. Debnath, A.K. Shill and U. Bose. Anti-inflammatory, Diuretic and Antibacterial Activities of Aerial Parts of Mucuna pruriens Linn. International Journal of Pharmacology. 2011. Volume 7, Issue 4, pg. 498-503. doi: 10.3923/jp.2011.498.503.
    7. Yadav SK1, Prakash J2, Chouhan S3, Westfall S4, Verma M5, Singh TD6, Singh SP7. Comparison of the neuroprotective potential of Mucuna pruriens seed extract with estrogen in 1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine (MPTP)-induced PD mice model. Neurochem Int. 2014 Jan;65:1-13. doi: 10.1016/j.neuint.2013.12.001. Epub 2013 Dec 11.
    8. Shukla KK, Mahdi AA, Ahmad MK, Jaiswar SP, Shankwar SN, Tiwari SC. Mucuna pruriens Reduces Stress and Improves the Quality of Semen in Infertile Men. Evid Based Complement Alternat Med. 2010 Mar;7(1):137-44.
    9. Tharakan B, Dhanasekaran M, Mize-Berge J, Manyam BV. Anti-Parkinson botanical Mucuna pruriens prevents levodopa induced plasmid and genomic DNA damage.Phytother Res. 2007 Dec;21(12):1124-6.
    10. Ramya KB, Thaakur S. Herbs containing L- Dopa: An update. Anc Sci Life. 2007 Jul;27(1):50-5.

    ระวัง!!! กินหมามุ่ย(สายพันธุ์ไทย)เสริมพลังเพศ

    อาจารย์เภสัชมหิดลเตือนอย่ากินเมล็ด หมามุ่ยสุ่มสี่สุ่มห้าหลังมีข่าวเพิ่มพลังเพศชาย โดยระบุว่าหมามุ่ยไทยเป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยในจีนและอินเดียที่มีผลวิจัย รับรอง
    รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร กล่าวเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ถึงกรณีมีข่าวการนำเมล็ดหมามุ่ยมาคั่วรับประทานจะออกฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทาง เพศแก่ผู้ชายว่า
    “มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากฝั่ง ประเทศจีนและอินเดีย เมล็ดหมามุ่ยมีสารที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมามุ่ยในจีนและอินเดียเป็นหมามุ่ยคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยที่ขึ้นอยู่ใน ประเทศไทย ดังนั้นจึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่กำลังสนใจและต้องการจะกินเมล็ดหมามุ่ยว่า อย่ากินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่นำมากินนั้นเป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือไม่”
    ที่มา : ไทยโพสต์

    ฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของหมามุ่ย

    หมามุ่ยเป็นพืชเถาซึ่งมีขนคันบริเวณฝัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ตาม สรรพคุณพื้นบ้านนั้น เมล็ดของหมามุ่ยถูกนำมาใช้ในตำรับยาไทยมาช้านานในการรักษาโรคบุรุษ และมีความเชื่อว่าสามารถใช้เป็นากระตุ้นกำหนัดได้ การ วิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของหมามุ่ยต่อสมรรถภาพทางเพศในสัตว์ทดลองพบว่า การป้อนหนูแรทเพศผู้ด้วยสารสกัดเอทานอลเมล็ดหมามุ่ยที่ความเข้มข้น 200 มก./กก.ของน้ำหนักตัว วันละครั้ง เป็นเวลา 21 – 45 วัน สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของหนูได้ กล่าวคือมีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของหนูเปลี่ยนไป โดยมีพฤติกรรมการจับคู่และการขึ้นคร่อมตัวเมียถี่ขึ้น และมีระยะเวลาในการเริ่มสอดใส่อวัยวะเพศครั้งแรกจนหลั่งน้ำเชื้อ (ejaculation latency, EL) นานขึ้น นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิกในประเทศอินเดียกับอาสาสมัครเพศชายที่มีภาวะ จำนวนสเปิร์มน้อย และสเปิร์มมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยให้ อาสาสมัครดื่มนมที่ผสมกับผงบดเมล็ดหมามุ่ยขนาด 5 กรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ค่าความเข้มข้นของสเปิร์ม และการเคลื่อนไหวของสเปิร์มเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีค่าเกือบเทียบเท่ากับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมล็ดหมามุ่ยมีประสิทธิภาพในการช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ เชื้อให้ดีขึ้นได้ แต่ก็เป็นที่น่าสนใจว่าเมื่อนำผงบดของเมล็ดหมามุ่ยมาทดลองในหนูแรทเพศเมีย กลับมีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศมีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ มีพฤติกรรมการจับคู่กับหนูตัวผู้ลดลง และปฏิเสธการรับการผสมพันธุ์จากหนูตัวผู้ แสดงให้เห็นว่าการรับประทานเมล็ดหมามุ่ยอาจให้ผลแตกต่างในระหว่างเพศชายและ หญิง
    แม้ว่าจะมีงานวิจัยรองรับถึงฤทธิ์เพิ่มคุณภาพของน้ำเชื้อในบุรุษของเมล็ด หมามุ่ย แต่ก็มีไม่มากนัก และหมามุ่ยยังแบ่งได้เป็นอีกหลายสายพันธุ์ (Varieties) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ระบุถึงความแตกต่างเกี่ยวกับฤทธิ์ทาง เภสัชวิทยาที่แน่ชัดของแต่ละสายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทยสายพันธุ์ที่พบจะเป็นกลุ่มไม้ป่า Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Pruriens ซึ่งจะมีขนพิษปกคลุมที่ฝัก ทำให้เกิดอาการคันเมื่อสัมผัส ส่วนกลุ่มที่เป็นไม้ปลูก Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Utillis จะไม่มีขนพิษที่ฝัก ไม่มีการปลูกในประเทศไทย นอกจากนี้ในเมล็ด ของหมามุ่ยจะมีสาร L-dopa หรือ L-3,4- dihydroxyphenylalanine อยู่ปริมาณสูง ซึ่งถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าในการรักษาโรคพาร์กินสัน สาร L-dopa นี้ เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท dopamine ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะการควบคุมการเคลื่อนไหว และยังมีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลง การรับประทานในปริมาณที่มากอาจมีผล เสียต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บหมามุ่ยมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันถึงสายพันธุ์ที่ใช้ทดสอบ และมีการศึกษาถึงความเป็นพิษในคนที่แน่ชัด

    ข่าวสรรพคุณหมามุ่ยที่ออกสู่สาธารณชน....

    ชาวศรีสะเกษคอนเฟิร์ม “เม็ดหมามุ่ย” ช่วยชีวิตสมรสดีขึ้น
    ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
            ชาวศรีสะเกษคอนเฟิร์ม “เม็ดหมามุ่ย” ช่วยทำชีวิตสมรสดีขึ้น หลังวิจัยพบช่วยปลุกอารมณ์เซ็กซ์ ผู้ชายรู้สึกปึ๋งปั๋ง ไม่เหนื่อยง่าย ส่วนฝ่ายหญิงยิ้ม รู้สึกอกเต่งตึง อวัยวะรับสัมผัสเซ็กซ์กระชับขึ้น
         
           ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา มีการนำเสนอผลงานวิจัยของข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวนกว่า 800 ผลงาน โดยนางชนัดดา บัลลังค์ นักวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “หมามุ่ย:สมุนไพรต่อความมั่นคงของชีวิตสมรส” ว่า จากการศึกษาผลของสมุนไพรหมามุ่ยต่อความสุขของชีวิตสมรส เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้สมุนไพรหมามุ่ยต่อชีวิตสมรส กับชาวบ้านในตำบลโพธิ์ อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 6,217 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสมัครใจจำนวน 40 คน เป็นชาย 20 คน และ หญิง 20 คน ซึ่งก่อนการวิจัยให้ข้อมูลว่า มีความรู้สึกถึงความมั่นคงต่อชีวิตสมรสในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ โดยใช้เม็ดหมามุ่ยคั่วสุกบดละเอียดให้ชงรับประทาน และสอบถามความรู้สึกหลังการวิจัย พบว่า ระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่อชีวิตสมรสก่อนการใช้หมามุ่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง แต่เมื่อได้ดื่มน้ำเม็ดหมามุ่ยคั่วบดละเอียดแล้ว ความรู้สึกต่อชีวิตสมรสเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก
         
           นางชนัดดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสมุนไพรหมามุ่ย พบว่า มีความพอใจคู่สมรส และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น โดยในผู้หญิงมีความรู้สึกว่าหน้าอกมีความเต่งตึง และอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรับสัมผัสทางเพศมีความกระชับมากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ดี ไม่เหนื่อยง่าย ขณะที่ เพศชายมีความรู้สึกว่า ระหว่างปฏิบัติการไม่เหนื่อยง่าย แถมยังกระฉับกระเฉง จำนวนครั้งที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า การใช้หมามุ่ยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้ใช้ต้องมีความรู้ทางด้าน สมุนไพรเพื่อความปลอดภัย
         
           นางชนัดดา กล่าวด้วยว่า งานวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานการวิจัยมาจากฐานข้อมูลของกรมการปกครองที่พบว่า สถิติการหย่าร้างของคนไทยตั้งแต่ปี 2550-2552 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 100,420 คน ในปี 2550 เพิ่มเป็น 109,277 คน ในปี 2552 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดว่าน่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ชีวิต คู่ ชีวิตสมรสให้มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเพศสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคู่ของมนุษย์มาโดย ตลอด เนื่องจากเป็นความต้องการพื้นฐานในความสุขทางเพศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เหมาะสมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น การปลุกเร้าทางเพศต้องใช้เวลานานขึ้น และการแข็งตัวของอวัยวะเพศก็อาจแข็งตัวช้า
         
           นางชนัดดา กล่าวถึงวิธีการใช้หมามุ่ยว่า ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จะเป็นผู้ควบคุมการใช้หมามุ่ยคั่วสุขบดละเอียด คือ ในแต่ละวันจะใช้ผงหมามุ่ยที่บดแล้ว จำนวน 1 ช้อนชา โดยจะชงผสมกับน้ำให้กับกลุ่มตัวอย่างดื่ม ซึ่งจะเลือกให้ดื่มในช่วงเวลาเย็น ทั้งนี้ ในการทำการทดลอง จะใช้ระยะเวลาในการทดลองเป็นเวลา 45 วัน และจากผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองนั้น พบว่า ก่อนการใช้หมามุ่ยในกลุ่มทดลองนั้นผู้ใช้จะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศแข็งตัว ช้า แต่ภายหลังจากการใช้หมามุ่ยแล้วพบว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศเร็วและนานขึ้น

    Category 5

    Category 6 (Carousel)